วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15



                                                                     บันทึกอนุทิน

                                 วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                              อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                    วัน/เดือน/ปี...20.. กันยายน .2556.....ครั้งที่...15....เวลาเรียน..13.10-16.40 น.


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้

     ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนการเรียน  ว่าเขียนอย่างไร และได้รู้เทคนิควิธีการเขียนแผน ว่า ก่อนที่เราจะเขียนแผนการเรียนนั้นเราต้อง ทำแผนผังความคิดก่อน เมื่อทำเสร็จแล้วก็เลือกเอาหัวข้อย่อยจากแผนผังความคิดซักหนึ่งอย่าง นำมาเขียนเป็นเป็นการเรียนรู้     ตัวอย่างดังภาพ


                                          ก่อนทำแผนการสอนต้องทำแผนผังความคิดก่อน
                                


ระดมความคิดทำแผนการสอน




หน่วยปลา





หน่วยไก่






หน่วยผีเสื้อ






หน่วยกบ





หน่วยผลไม้








วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

                                                                          บันทึกอนุทิน

                                         วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                        วัน/เดือน/ปี...13.. กันยายน .2556.....ครั้งที่...14....เวลาเรียน..13.10-16.40 น.


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้และการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต

                     กิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้คือการ วางแผนในการทำมุมต่างๆ ทำให้เราได้รู้ความคิดของแต่ละกลุ่มว่าเค้ามรความคิดในมุมต่างๆเพื่อเด๋กปฐมวัยอย่างไร  และแต่ละกลุ่มอยากจะให้มีมุมไหนสำหรับเด็กปฐมวัย   เมื่อเราไปเป็นครูในอนาคต เราเคยมีการวางแผนมุมต่างๆออกมาเป็นภาพแล้วเราก็สามารถจัดมุมต่างๆได้


มุม อาเซียน




มุมในฝัน


มุมบ้านอาเซียน


มุมสัตว์น้ำ


มุมครัว




วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13



                                                                    บันทึกอนุทิน

                                  วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                    วัน/เดือน/ปี..... 6    กันยายน .2556.....ครั้งที่...13....เวลาเรียน..13.10-16.40 น.


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้คือ

                  ก่อนเข้าสู่บทเรียนเพื่อนๆได้ออกมาแสดง ท่าทาง ของสัตว์ต่างๆให้ทายกันว่า
คือสัตว์ตัวไหนแล้วพวกเราก็ทายถูกหมด  ภาษาไม่จำเป็นต้องเป็นการพูด  การเขียน แต่การแสดงกิริยาท่าทางก็เป็นภาษาอย่างหนึ่งที่เราสามารถใช้สื่อสารกันได้ และเปรียบได้กับอวัจนภาษาในวิชาภาษาไทย

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
-สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
-เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา

หลัการ
-สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจปฏิบัติจริง เป็นผู้กระทำด้วยตนเองเปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระ ได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
-สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กและบุคคลรอบข้าง  เด็กควรได้สื่อสองทาง
-สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ  ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ  โดยคำนึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
-สิ่งแวดล้อมประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา  เด็กควรได้รับการมีประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์หลายๆแบบ

มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษา
-มุมหนังสือ
-มุมบทบาทสมมุติ
-มุมศิลปะ
-มุมดนตรี

ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะภาษา
-มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
-เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
-บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ  สี  กระดาษ  กรรไกร  กาว
-เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน  ออกแบบ

                                                                 มุมหนังสือ

-มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆที่เหมาะสมกับวัย
-มีบรรยากาศที่ สงบ และอบอุ่น
-มีพื้นที่ในการอ่านลำพัง  และเป็นกลุ่ม
-มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน



                                                                  มุมบทบาทสมมุติ

-มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่น
-มีพื้นที่ที่เพียงพอ



                                                                     มุมศิลปะ

-จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย  เช่น สีเมจิก  ดินสอ  ยางลบ  ตรายาง  ซองจดหมาย ฯลฯ
-กรรไกร  กาว  สำหรับงานตัดและปะติด




มุมดนตรี

-มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง  เช่น  กลอง  ฉิ่ง  ระนาด  ขลุ่ย  กรับ  เครื่องเคาะจังหวะ




กิจกรรมเพิ่มเติม...การคัดลายมือ







การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์

                จากการเรียนในวันนี้ทำให้เราได้รู้แนวทางในการจัดมุมต่างๆสำหรับเด็กปฐมวัย  ว่าควรเป็นลักษณะแบบใด ควรใช้สถานที่แบบไหนถึงจะเหมาะสม  และในการจัดมุมต่างๆควรคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็ก เด็กเล่นในมุมนั้นๆแล้วรู้สึกผ่อนคลาย สนุก และเด็กต้องมีส่วนร่วมในการจักกิจกรรมต่างๆเป็นคนเสนอความคิดเห็นได้ ในการทำกิจกรรมต่างๆในมุมแต่ละมุมเราควรที่จะดูแลอย่างดีเพราะกิจกรรมบางกิจกรรมอาจทำให้เด็กเกิดอุบัติเหตุได้





วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

                                                                         บันทึกอนุทิน

                                         วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                        วัน/เดือน/ปี...30.. สิงหาคม .2556.....ครั้งที่...12....เวลาเรียน..13.10-16.40 น.


สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้และการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต

                    ได้ฝึกการคิดเป็นกระบวนการกลุ่ม และได้มีการวางแผนว่าเราควรที่จะทำสื่อสำหรับเด็กในรูปแบบใด และสื่อชนิดไหนจะเหมาะสมกับเด็กวัยเท่าไหร่ จากการที่ได้วางแผนทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัยในวันนี้เราสามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคตอย่างแน่นอน   และจากกิจกรรมที่ได้ทำหรือที่เราทำสื่อบ่อยๆ ก็จะสามารถช่วยให้เรากล้าคิด กล้าทำเป็นชั้นผลงานออกมาให้เด็กได้สัมผัสของจริงแน่นอน    

                    การวางแผนสื่อในวันนี้คือ  บัตรภาพผลไม้     วีธีเล่น  ให้เด็กจับคู่ภาพผลไม้กับชื่อผลไม้ให้ถูกต้อง
ประโยช์ที่ได้รับ  ช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนานขณะเล่นและได้รู้จักชื่อและภาพของผลไม้แต่ละชนิด พร้อมกับการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษและภาษาไทยอีกด้วย