วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7



                                                                บันทึกอนุทิน

                                  วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                              อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                     วัน/เดือน/ปี.26.. กรกฎาคม .2556.....ครั้งที่...7....เวลาเรียน..13.10-16.40 น.

สิ่งที่ได้รับความรู้จากการเรียนในวันนี้

                   จาการที่ได้วาดรูปในสิ่งที่ตนเองอยากวาดไม่คิดเลยว่าอาจารย์จะให้นำรูปที่ตนเองวาดออกไปเล่านิทานซึ่งเมื่อไปเล่ากับเพื่อนๆในห้องฟังแล้วก็แอบขำเพราะตลกดี เนื่องจากคนเรามีจินตนาการสูงมากหรือนี่คือสิ่งที่อาจารย์อยากให้เรารู้เรื่องจินตนาการของเด็กแต่ละคนมีไม่เหมือนกันเราควรจะฟังและยินดีกับการได้แสดงพัฒนาการทางด้านภาษา จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ส่วนการประเมินพัฒนาการทางภาษาของเด็กเราเป็นครูควรใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย เน้นให้ความก้าวหน้าของเด็ก คือ ต้องบันทึกสิ่งที่เด็กทำได้ทุกอย่าง อย่ามองในสิ่งที่เด็กทำไม่ได้ และจากการทำกิจกรรมต่างๆของเด็กเราก็ควรที่จะให้เด็กได้ประเมินพัฒนาการของตนโดยการเอาผลงานของเด็กไปติดบริเวณรอบห้อง ครูก็ควรสนใจทุกผลงานของเด็กและครูต้องประเมินเด็กเป็นรายบุคคลเพราะเด็กแต่ละคนมีกระบวนการคิดต่างกัน

การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต

                    ครูต้องให้ความสนใจ ใส่ใจกับการที่เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกทางด้านความคิด การพูด หรือการลงมือปฏิบัติ ครูต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละคน ว่าพัฒนาการในแต่ละด้านของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน ครูต้องให้ความสนใจ กับเด็กทุกคนเท่ากัน แม้แต่การทำกิจกรรมต่างๆครูก็ควรดูแลเด็กแต่ละคนอย่างใกล้ชิด ครูต้องจัดกิจกรรมเก่งและต้องมีกิจกรรมให้เด็กทำอย่างหลากหลาย จากการที่อาจารย์เล่นนิทานวาดไปเล่าให้ฟัง เราก็สามารถนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้ในอนาคตได้


     

         

           นี่คือรูปไอศกรีมชื่อ..เย็นฉ่ำ...ที่นำออกไปเล่านิทานเรื่องยาวกับเพื่อนๆในห้องค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6



                                                                     บันทึกอนุทิน


                                        วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


                                                    อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                        วัน/เดือน/ปี...19 กรกฎาคม .2556.....ครั้งที่...6....เวลาเรียน..13.10-16.40 น.

สิ่งที่ได้รับในวันนี้

              สิ่งที่ได้รับในวันนี้คือได้รู้แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้กับเด็กปฐมวัยว่าเราควรจะมีแนวทางในการจัดแบบใดเด็กสามารถรับรู้ได้แบบไหนบ้าง ธรรมชาติของเด็กเป็นแบบใดเราก็ควรที่จะทำตามที่เด็กต้องการ ควรสอนตามใจเด็กในสิ่งที่เด็กอยากทำไม่ใช่สอนตามใจเรา จากการที่ได้ดูวีดีโอทำให้ได้รู้เลยว่าเราอย่าไปคาดหวังให้เด็กมีพัฒนาการในการเรียนรู้เหมือนกันทุกคนและที่สำคัญที่สุดครูต้องใสใจเด็กมาก ต้องใส่ใจทุกลายละเอียด เวลาอ่านนิทานก็ต้องชี้ให้ดูในแต่ละคำ ต้องเขียนให้เด็กดูก่อนที่จะให้เด็กเขียน ให้เด็กได้แสดงความคิดผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ สำหรับการสอนภาษาธรรมชาติให้กับเด็กได้รู้เลยว่าครูต้องสิ่งที่สำคัญที่สุดคือตัวครูเพราะเด็กจะสาถเรียนรู้รับรู้อย่างไรขึ้นอยู่กับครูสอนทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเป็นแบบอย่างที่ดี การใช้ภาษากับเด็ก การจัดสภาพการเรียนการสอน เพราะฉะนั้นครูคือสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการสอนเด็ดแต่ละคน


การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต


              การที่เราจะเป็นคุณครูที่ดีได้นั้นเราต้องเข้าใจเด็กในแต่ละคนว่าเค้าต้องการอะไร เราควรจะสอนหรือพัฒนานาพัฒนาการในแต่ละด้านของเขาอย่างไร ต้องใส่ใจเด็กทุกคนอย่างมากและเท่าเทียมกัน ควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็ก ในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งกับเด็ก เช่น การอ่าน เราควรต้องชี้ตัวหนังสือทุกคำให้เด็กดูด้วยและเราไม่ควรที่คาดหวังในตัวเด็กว่าเด็กทุกคนจะมีพัฒนาการเท่ากัน ควรเปิดอิสระให้เด็กได้คิดอ่าน เขียน โดยผ่านงานเขียนหรือวาดรูปก็ได้







วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5



                                                                   บันทึกอนุทิน

                                      วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                   อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                        วัน/เดือน/ปี.... 12 กรกฎาคม 2556.....ครั้งที่...5....เวลาเรียน..13.10-16.40 น.

      สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้คือ

๑.องค์ประกอบของการศึกษา
              
  เสียง (Phonology) 
                    -ระบบเสียงของภาษา
                    -เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
                    -หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา
       
  ความหมายของภาษาและคำศัพท์ (Syntax)
                    -คือ ความหมายของภาษาและคำศัพท์
                    -คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
                    -ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
           
  ไวยากรณ์ (Syntax)
                   - คือ ระบบไวยากรณ์
                   - การเสียงรูปประโยค
           
  Pragmatic
                   - คือระบบการนำไปใช้
                   -ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ


๒.แนวคิดนักการศึกษา

 1. แนวคิดพฤติกรรมนิยม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กให้เป็นไปตามที่เราต้องการไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรอทางลบ
               
                    Skinner  ทฤษฎีการเรียนรู้ ทดลองโดยใช้หนู
                 
           -สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการภาษา
           -ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
              
                           John B. watson
         
           -ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
           -การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก  เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม


นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
         - ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
         - การเรียนภาษาเป็นผลมาจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
         - เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
         - เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
         - เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น

2. นักคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
                    
                   Piaget
         - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
         - ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
    
                   Vygotsky
         - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
         - สังคม บุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
         - เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
         - ผู้ใหญ่ช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก

3.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
  
                 Arnold Gesell
         - เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
         - ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
         - เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
         - เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง

4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาแต่กำเนิด
                   
                 Noam Chomsky
           - ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
           - การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
           - มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา มาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language Acquisition Derice) 

                  O. Hobart Mowrer
           - คิดค้นทฤษฏีความพึงพอใจ
           - เด็กพูดคำว่าแม่ได้เกิดจากความสามารถในการฟังและความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเองเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา


๓. แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
            - เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
            - นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
            - แล้วแต่ความเชื่อของครูที่มีต่อแนวคิดต่างๆและครูก็จะเอาไปใช้

Richard and Rodger   ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์ เป็น กลุ่ม ดังนี้
   
 1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
            - นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
            - เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นวลี หรือประโยค
   
 2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
            - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
            - การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
            - ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
   
 3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
            - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างสัมพันธ์ทางสังคม
            - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
           - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา


การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในอนาคต

              การใช้ภาษาสื่อสารกับเด็กเราเราต้องพูดให้ถูกอักขระ ร ล ว  และเวลาเราจะสื่อสารเรื่องราวต่างๆต้องสื่อสารให้เด็กเข้าใจง่ายและเข้าใจอย่างถูกต้อง  จากทฤษฎีเราก็สามารถนำมาใช้กับการจัดการเรียนการสอนได้ แต่ต้องดูว่าทฤษฎีไหนเหมาะกับเด็ก ทั้งเพศและวัย

     



         นี่คือรูปโทรศัพท์บ้านสีแดง...ตอนเด็กๆจะชอบเล่นมากชอบพูด..สวัสดีค่ะ..ทำอะไรอยู่คะกับกลุ่มเพื่อนๆมี่โรงเรียนทุกวัน...และตอนนี้ก็เลยเป็นคนชอบเล่นโทรศัพท์บ้านเวลาเห็นก็จะหยิบมากดเล่นค่ะ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

                                                       บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

                                  วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                             อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
               
                   วัน/เดือน/ปี....5 กรกฎาคม 2556.....ครั้งที่...4....เวลาเรียน..13.10-16.40 น.

             สิ่งที่ได้รับจากเรียนในวันนี้คือ ได้ฟังเพื่อนๆนำเสนอในเนื้อหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นแนวคิดของนักทฤษฎีต่างๆ การแสดงพฤติกรรมทางภาษาของเด็กปฐมวัยในช่วงอายุต่างๆที่แตกต่างกัน ซึ่งแต่ละกลุ่มมีเนื้อหาที่นำเสนอพอสังเขปดังนี้

              กลุ่มที่ 1 ทำให้เราได้รู้เพิ่มเติมเรื่องความหมายของภาษาและความสำคัญของภาษา และเพื่อนได้เปิดวีดีโอเด็กท่อง a-z,0-10 และร้องเพลง ซึ่งทำไห้เราได้ดูเรื่องพัฒนาการทางภาษาของเด็กในการสื่อสาร สื่อความหมาย และยังเป็นการแสดงความกล้าแสดงออกของเด็กด้วย

             กลุ่มที่ 2 ได้รู้เพื่มเติมเกี่ยวกับแนวคิดของนักทฤษฎีว่า

- เพียเจยต์ เรียนรู้ผ่านการเล่น

- จอนท์ ดิวอี้ เกิดจากการลงมือทำ

- ไวท์กอสกี้ เกิดจากการมีปฎิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม

- กู๊ดแมน การเรียนรู้เป็นไปตามธรรมชาติ


          กลุ่มที่ 3 ได้รู้ถึงพัฒนาการแต่ละขั้นของเด็กปฐมวัยแรกเกิด - 2 ปี


ทารกแรกเกิด       =     ลูกจะจดจ่ออยู่กับใบหน้าแม่

4 สัปดาห์             =    เด็กจะเลียนแบบพ่อแม่

6 สัปดาห์             =    เด็กจะยิ้มตามและมองตามของที่เคลื่อนที่

3 เดือน                =    เด็กจะเล่นกะของที่ห้อยอยู่ที่เปลนอนของตน

5 เดือน                =    เด็กเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติ

6 เดือน                =     เริ่มสนใจกระจกเงา ชอบที่เห็นตัวเองในกระจกเงา

8 เดือน                =    เด็กจะรู้จักแสดงอารมณ์ แสดงความปรารถนา

12 เดือน              =     เด็กจะชอบทำให้หัวเราะ

15 เดือน              =     เด้กจะทำให้เห็นว่าเริ่มทำอะไรได้

2 ปี                      =     เด็กสามารถอยู่ตามลำพังและจะเล่นคนเดียว


กลุ่มที่ 4 พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กอายุ 2-4 ปี

        ยกนักทฤษฎีมาท่านหนึ่งคือยีนเพียเจยต์  จากทฤษฎีกล่าวว่าการเรียนรู้ของเด็กเป็นไปแบบมีขั้นตอนไม่ควรไปขัดขวางพัฒนาการของเด็กเพราะจะทำให้พัฒนาการของเด็กหยุดการพัฒนาชั่วคราวแต่การจัดกิจกรรมเป็นสิ่งที่จะพัฒนาให้เด็กพัฒนาสติปัญญาเพิ่มขึ้น

กลุ่มที่ 5 พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กอายุ 4-6 ปี

         เป็นช่วงวัยที่เด็กมีการพัฒนาด้านสติปัญญาเด็กจะอยากรู้อยากเห็น ชอบซักถามอยู่ตลอด จะถามคำซ้ำๆคือ ใคร ทำอะไร ทำไม
     
กลุ่มที่ 6   การเรียนรู้

         การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์การและการเรียนรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบคือ

1. แรงขับ
2. สิ่งเร้า
3. การตอบสนอง
4. การเสริมแรง  การให้แรงเสริมมีทั้งทางบวกและทางลบ

กลุ่มที่ 7  การเรียนรู้

      วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย มีหลายอย่างเช่น การเล่นและการเข้าสังคม  การเรียนรู้เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  และ การช่วยเหลือตนเอง

กลุ่มที่ 8   องค์ประกอบของภาษา
   
      องค์ประกอบของภาษาประกอบด้วย เสียง ไวทยากรณ์ และ ความหมาย

กลุ่มที่ 10 เรียนรู้ภาษาจากการสื่อสาร

      รับเสียง ---> ตีความ  --->  ทำความเข้าใจ

เช่น การสอนเรื่องนิทาน

อ่านเอง  และ  อ่านให้ฟัง แบ่งเป็น อ่านเพื่อเอาเนื้อเรื่องและอ่านแล้วตั้งคำถาม

         จากการเรียนในวันนี้ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติมอีกมากมายแถมยังได้แลกเปลี่ยมความรู้ความคิดกับเพื่อนต่างกลุ่มอีกด้วยและมีความสุขมากที่ได้ดูวีดีโอต่างๆจากเพื่อนการเรียนในวันนี้ได้รับความรู้มากมายแถมได้รับความสุขและเสียงหัวเราะด้วยค่ะ




วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


                                                                   บันทึกอนุทิน

                                     วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                     วัน/เดือน/ปี...28 .มิถุนายน.2556.....ครั้งที่...3...เวลาเรียน..13.10-16.40 น.



      .....ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีกิจกรรมรับน้องของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.......





บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


                                                                  บันทึกอนุทิน

                                 วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                             อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                     วัน/เดือน/ปี...21 .มิถุนายน.2556.....ครั้งที่...2....เวลาเรียน..13.10-16.40 น.



สิ่งที่ได้รับจากเรียนในวันนี้คือ

              ได้รู้จักความหมายของภาษา ว่า ภาษาหมายถึง การสื่อความหมาย ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความรู้สึกและความคิด ภาษามีความสำคัญมากเพราะเป็นเครื่องมือในการติอต่อสื่อสารกัน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน และเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ ทักษะการฟังประกอบด้วย การฟัง การพูด การอ่าน การดู และการเขียน มีความรู้เพิ่มเติมทฤษฎีของเพียเจต์ เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
           1.กระบวนการดูดซึม คือ เด็กจะจดจำภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์เดิม เช่น มีปีก บินได้ เรียนว่านก เมื่อเด็กเห็นสิ่งที่มีพวกนี้เค้าก็จะเรียกว่านกทั้งหมด   2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ เด็กจะปรับความรู้เดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่ได้รับ เช่น มีปีก บินได้ มีปากแหลม ร้องเจี๊ยบๆ เรียนว่านก ถ้าเด็กเจอสัตว์ที่มีลัษระแบบนี้ก็จะเรียนว่านก ทั้ง 2 ข้อนี้ควบคู่กัน เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจของเด็กก็จะเกิดความสมดุลขึ้นในตัวเด็กกลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง และได้รู้ว่าเพียเจต์แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาซึ้งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษาออกเป็น 4 ขั้นพัฒนาการ พัฒนาการทางภาษาของเด็กจะค่อยๆสร้างความรู้ความเข้าใจเป็นลำดับขั้นครูหรือผู้สอนต้องเข้าใจและยอมรับในการสอนนั้นเราต้องสอนเมื่อเด็กพร้อมที่จะเรียน ดูความแตกต่างทางด้านพัฒนาการของเด็กในแต่ละคนเพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการแต่ละด้านไม่เท่ากันและสิ่งสำคัญคือเราต้องมีการให้แรงเสริม การให้แรงเสริมมีทั้งทางบวกและทางลบ เมื่อเด็กทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดีเราต้องชมเชย แต่ถ้าทำไม่ได้เราก็ควรที่จะให้กำลังใจและส่งเสริมเด็ก

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1


                                                                  บันทึกอนุทิน

                                       วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                                   อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                     วัน/เดือน/ปี...14 .มิถุนายน.2556.....ครั้งที่...1....เวลาเรียน..13.10-16.40 น.



สิ่งที่ได้รับจากเรียนในวันนี้คือ

                   ได้รู้ว่าการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีองค์ประกอบอะไรบ้างแต่ละอย่าเชื่อมโยงกันมากจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปมิได้และได้รู้สาระที่เราจะต้องเรียนว่าเราจะต้องเรียนอะไร มีเนื้อหาหรือวิธีการสอนแบบไหนดูได้จากการที่ได้ทำแผนผังความคิด อีกสิ่งหนึ่งก็คือได้รู้จักวิธีการทำบล็อกซึ่งดีมากเพราะว่าเราจะได้โชว์ชิ้นงานของตัวเองให้คนอื่นได้เห็นถือว่าเป็นสื่อการเรียนที่ดีมากอีกชิ้นหนึ่งเพราะจะทำให้เรามีผลงานที่ดีๆเก็บไว้ดูหรือไว้ใช้ในอนาคต