วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


                                                                  บันทึกอนุทิน

                                 วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                             อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน

                     วัน/เดือน/ปี...21 .มิถุนายน.2556.....ครั้งที่...2....เวลาเรียน..13.10-16.40 น.



สิ่งที่ได้รับจากเรียนในวันนี้คือ

              ได้รู้จักความหมายของภาษา ว่า ภาษาหมายถึง การสื่อความหมาย ภาษาเป็นเครื่องมือในการแสดงความรู้สึกและความคิด ภาษามีความสำคัญมากเพราะเป็นเครื่องมือในการติอต่อสื่อสารกัน เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน และเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ ทักษะการฟังประกอบด้วย การฟัง การพูด การอ่าน การดู และการเขียน มีความรู้เพิ่มเติมทฤษฎีของเพียเจต์ เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
           1.กระบวนการดูดซึม คือ เด็กจะจดจำภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์เดิม เช่น มีปีก บินได้ เรียนว่านก เมื่อเด็กเห็นสิ่งที่มีพวกนี้เค้าก็จะเรียกว่านกทั้งหมด   2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ เด็กจะปรับความรู้เดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ที่ได้รับ เช่น มีปีก บินได้ มีปากแหลม ร้องเจี๊ยบๆ เรียนว่านก ถ้าเด็กเจอสัตว์ที่มีลัษระแบบนี้ก็จะเรียนว่านก ทั้ง 2 ข้อนี้ควบคู่กัน เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจของเด็กก็จะเกิดความสมดุลขึ้นในตัวเด็กกลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง และได้รู้ว่าเพียเจต์แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาซึ้งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษาออกเป็น 4 ขั้นพัฒนาการ พัฒนาการทางภาษาของเด็กจะค่อยๆสร้างความรู้ความเข้าใจเป็นลำดับขั้นครูหรือผู้สอนต้องเข้าใจและยอมรับในการสอนนั้นเราต้องสอนเมื่อเด็กพร้อมที่จะเรียน ดูความแตกต่างทางด้านพัฒนาการของเด็กในแต่ละคนเพราะเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการแต่ละด้านไม่เท่ากันและสิ่งสำคัญคือเราต้องมีการให้แรงเสริม การให้แรงเสริมมีทั้งทางบวกและทางลบ เมื่อเด็กทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดีเราต้องชมเชย แต่ถ้าทำไม่ได้เราก็ควรที่จะให้กำลังใจและส่งเสริมเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น